การตรวจภาวะตับแข็งด้วยเครื่องไฟโบรสแกน

เมื่อมีอาการของมะเร็งตับเกิดขึ้น เช่น ปวดท้อง ท้องอืด แน่นอึดอัดท้อง ไม่อยากรับประทานอาหาร มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อยบ้าง หรือโรคถุงน้ำดีอักเสบบ้าง จนไม่ทันได้ระวังและปล่อยให้โรคดำเนินต่อไปเมื่อโรคพัฒนาจนถึงระยะกลางและระยะสุดท้าย จึงจะสามารถเห็นอาการได้ชัดเจน และในเวลานั้นมักจะสูญเสียโอกาสในการรักษา

ขึ้นขั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้การตรวจด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก รวมทั้งการเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดเพื่อหาค่าการทำงานของตับ ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หรือการตรวจหาภาวะไขมันพอกตับ ภาวะตับแข็งที่จะนำไปสู่การเป็นมะเร็งตับ ด้วยเครื่องไฟโบรสแกน (FibroScan) เพราะมะเร็งตับระยะแรกหากได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพก็สามารถยืดการมีชีวิตอยู่ ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ มะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากเพศชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง โดยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ มะเร็งตับชนิดเซลล์ตับ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในเนื้อตับและพบได้มากที่สุด ซึ่งเกิดจากเซลล์ตับที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกร้าย มะเร็งตับชนิดท่อน้ำดี เป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์บุท่อน้ำดีเจริญเติบโตผิดปกติ สาเหตุมาจากโรคพยาธิใบไม้ในตับ พบได้บ่อยทางภาคอีสาน รวมถึงการรับประทานอาหารบางชนิดที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น สารดินประสิวที่มีอยู่ในอาหารประเภทหมัก และอาหารจำพวกรมควัน เป็นต้น

Scroll to Top