การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุน

ความแข็งแรงของกระดูกอาจเป็นสิ่งที่หลายคนกังวล ยิ่งในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูง พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเป็นภัยเงียบ เนื่องจากจะไม่มีอาการ แต่จะรู้เมื่อกระดูกหักไปแล้ว เพราะเกิดจากมวลกระดูกที่ลดลงและโครงสร้างกระดูกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความแข็งแกร่งน้อยลง

เมื่อถูกแรงกระแทกเพียงเล็กน้อยอาจทำให้กระดูกหักได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเราควรที่จะป้องกันหรือรีบรักษาภาวะกระดูกพรุนตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีกระดูกหักเกิดขึ้น ภาวะกระดูกพรุนนั้นจะไม่มีอาการเตือนล่วงหน้ามาก่อน อาการของโรคกระดูกพรุนนี้มักค่อยๆ เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันได้สังเกตเห็น เช่น รู้สึกปวดตามบริเวณเอว หลัง ข้อมือหรือเริ่มมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หลังโก่ง ไหล่งุ้ม หรือเตี้ยลง เป็นต้น บริเวณที่พบกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนได้บ่อย ได้แก่ บริเวณกระดูกข้อมือ กระดูกหลังและกระดูกสะโพก ซึ่งการหักของกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณกระดูกสะโพกในคนที่มีภาวะกระดูกพรุนนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความพิการ วิธีการที่ดีที่สุดที่จะรู้ได้ว่า คุณกำลังเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด คือ “การตรวจมวลกระดูก หรือการตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก

Scroll to Top