ตรวจสุขภาพลำไส้ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบบ่อยเป็นลำดับ 4 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย ในแต่ละปี มีผู้ป่วยทั้งผู้หญิงและผู้ชายเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์หรือครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งหมด เนื่องจากโรคนี้มักมีอาการปรากฏให้เห็นเมื่อผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะก่อนระยะสุดท้าย ทำให้โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยมีน้อยลง

แต่การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ทำให้พบติ่งเนื้อตั้งแต่ระยะก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งในอนาคต ทำให้แพทย์สามารถรักษาเพื่อหยุดภาวะที่ติ่งเนื้อจะกลายเป็นมะเร็งได้ทันท่วงที นอกจากนี้หากตรวจพบมะเร็งในระยะแรกและทำการรักษา ผู้ป่วยยังมีโอกาสรอดชีวิตที่ 5 ปีถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป สำหรับผู้มีประวัติคนในครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปี ควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 40 ปี อย่ารอจนกระทั่งมีอาการการตรวจคัดกรองทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจหาเลือดในอุจจาระ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่วิธีการตรวจที่ดีที่สุดคือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เพราะแพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดและประเมินอาการผิดปกติต่างๆภายในลำไส้ใหญ่ได้อย่างแม่นยำ และหากตรวจพบความผิดปกติ เช่น แผลในลำไส้ แพทย์สามารถตัดเนื้อบางส่วนออกมาเพื่อหาสาเหตุของแผลหรือหากพบติ่งเนื้อ ก็สามารถตัดติ่งเนื้อออกมาส่งตรวจทางพยาธิวิทยาด้วยการใช้อุปกรณ์ต่างๆผ่านกล้องในขณะเดียวกัน

Scroll to Top